Language Teachers Community


 

ร่วมแบ่งปันประสบการณ์และเทคนิคการสอนภาษา

Language Teaching Techniques

 ภาษาศาสตร์(Liguistics) เป็นวิชาที่ทำให้บรรดานิสิตนักศึกษาหลายคนที่เลือกเรียนด้าภาษาและวรรณคดีโดยเฉพาะภาษาอังกฤษมีอาการไมเกรนกำเริบเพราะภาษาศาสตร์ไม่ใช่ตัวของภาษาที่เรียนโดยทีเดียวแต่เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับภาษานั้นๆจึงทำให้มีศัพท์เทคนิคมากมายและเป็นสิ่งที่ดูเหมือนว่าจะเข้าใจได้ยากจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นไม้เบื่อไม้เมากับผู้เรียนภาษาเป็นวิชาชีพรวมถึงผู้เรียนภาษาประยุกต์ได้แก่สาขาทางด้านการสอนภาษาอังกฤษแต่ในความยากของภาษาศาสตร์ก็มีคุณอนันต์ต่อบรรดาผู้สอนภาษาทั้งหลายแฝงอยู่หรืออาจกล่าวได้ว่าปราศจากความรู้ทางภาษาศาสตร์แล้วการสอนภาษาอาจไม่บรรลุจุดมุ่งหมายได้เพราะภาษาศาสตร์มีแขนงวิชาที่เป็นองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษาได้แก่ ภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา(Psycho-Linguistics) เป็นต้น
ภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยาช่วยให้ครูสอนภาษาเข้าปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมในการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนที่แสดงออกมาและสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมดังกล่าวได้อันจะนำไปสู่การการเรียนการสอนภาษาที่สัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายหรือช่วยให้ครูสอนภาษาสามารถให้ความช่วยเหลือพัฒนาหรือส่งเสริมผู้เรียนภาษาได้ถูกต้องตามระดับศักยภาพและความสามารถในการเรียนรู้ภาษาหรือสามารถแก้ไขหรือบำบัดความบกพร่องทางการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนได้อย่างเชื่อมโยงกับทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ประยุกต์และภาษาศาสตร์แขนงอื่นๆตลอดจนทฤษฎีทางจิตวิยาการเรียนรู้ ดังนั้นจึงนับได้ว่าวิชาภาษาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนภาษาของครูภาษาได้ดีเป็นอย่างยิ่งหากครูภาษาได้ศึกษาทฤษฎีทางภาษาศาสตร์หรือได้ทำการทบทวนทฤษฎีบ่อยๆเมื่องต้องเผชิญกับปัญหาความบกพร่องในการเรียนรู้ไม่ว่าในทักษะใดทักษะหนึ่งหรือทุกทักษะครูภาษาก็จะสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดกับผู้เรียนภาษาคนนั้นๆได้และให้ความช่วยเหลือหรือพัฒนาผู้เรียนภาษาได้เต็มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
 
 

เหตุเกิดที่คำ

ในปัจจุบันสถานศึกษาจำนวนมากได้นำโปรแกรมทางทะเบียนวัดผลมาใช้ในกระบวนวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมที่อำนวยความสะดวกให้แก่ครูและสถานศึกษาเป็นอย่างยิ่งโปรแกรมดังกล่าวที่รู้จักในชื่อของบุ๊คมาร์ค(BookMark)ซึ่งเป็นชื่อที่ได้การกำหนดขึ้นมาเฉพาะแต่ถ้าหากมองในมุมมองของผู้เรียนทางด้านภาษาศาสตร์มาจะพบว่าชื่อเฉพาะนี้ในภาษาอังกฤษนั้นมีข้อผิดพลาดที่อาจทำให้เจ้าของภาษาเข้าใจผิดในการสื่อความหมายเพราะคำว่าบุ๊คมาร์คในภาษาอังกฤษมีความว่าที่คั่นหนังสือแต่คำว่าบุ๊คมาร์คในโปรแกรมวัดผลประเมินผลเกิดจากการนำคำนามได้แก่ Book กับ Mark มาเรียงต่อกันตามโครงสร้างภาษาไทยแต่เนื่องจากคำนี้เป็นภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาไทยเมื่อมารวมกันแล้วจึงเกิดความหมายใหม่ที่ไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายของผู้กำหนดคำเฉพาะนี้ในภาษาไทยหากเราจะก้าวสู่อาเซียนซึ่งการศึกษาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะต้องก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงคำว่าบุ๊คมาร์คอาจต้องปรับเปลี่ยนเพื่อการสื่อความหมายในเวทีสากลได้

 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น